"เยี่ยมชมช่างตีดาบคาตานะ"

"เยี่ยมชมช่างตีดาบคาตานะ"

วันนี้ผมมีโอกาสได้ร่วมสัมผัสประสบการณ์ที่หายาก

มีช่างตีดาบคาตานะอยู่ลึกเข้าไปในภูเขาคุมาโนะ (Kumano) ซึ่งให้บริการนำเที่ยวสถานที่ทำงานของเขาและแบ่งปันความรู้ของเขาเกี่ยวกับกระบวนการทำคาตานะ กล่าวกันว่าทัวร์นี้ค่อนข้างหายากและเราไม่แน่ใจว่าจะสามารถเข้าร่วมได้หรือไม่จนกว่าจะถึงวันก่อนหน้าหนึ่งวัน

นอกจากนี้ ผมยังได้พักในบ้านชนบทญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมอายุ 60 ปี ซึ่งได้รับการปรับปรุงใหม่ทั้งหมดให้เป็นที่พักขนาดใหญ่ การมาพักที่นี่เป็นประสบการณ์ที่หาได้ยากและไม่เหมือนใครและเป็นสถานที่ที่โดยปกติแล้วผมคงจะไม่ได้มาสัมผัสสักเท่าไหร่

วันนี้เป็นวันที่เต็มไปด้วยโอกาสที่หาได้ยากในการเรียนรู้และสัมผัสกับประเพณีของญี่ปุ่น และผมก็พร้อมแล้วที่จะเริ่มต้นวันใหม่

ช็อปปิ้งที่ตลาดปลาในโอวาเสะ (Owase)

ช็อปปิ้งที่ตลาดปลาในโอวาเสะ (Owase)

ผมพักอยู่ในเมืองเล็กๆ ของคิโฮคุ (Kihoku) ซึ่งอยู่ห่างจากคุมาโนะประมาณ 2-3 ชั่วโมง เราออกเดินทางไปทัวร์ช่างตีดาบในตอนสายและแวะที่โอวาเสะเพื่อทานมื้อเที่ยงที่สถานที่ยอดนิยมที่เรียกว่าตลาดปลาโอวาเสะโอโตโตะ (Owase Ototo)


โอวาเสะมีชื่อเสียงในท้องถิ่นในด้านอาหารทะเล และสถานที่แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของสถานีริมถนนที่มีผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดของโอวาเสะ ตามชื่อที่กล่าวไว้ ที่โอโตโตะนั้นส่วนใหญ่เป็นปลา คุณจึงสามารถหาของฝากหรือของที่ระลึกที่ทำจากปลาและอาหารทะเลได้ทุกชนิด


ด้านหลังตลาดเป็นร้านอาหารที่เราไปทานข้าวเที่ยงกัน

ร้านอาหารเป็นแบบโรงอาหารที่คุณเดินไปตามเส้นทางเดียวผ่านแต่ละส่วนของอาหารทะเลประเภทต่างๆ โดยถือถาดไว้ในมือ แล้วผมก็เริ่มเลือกอาหารทั้งหมดที่ผมอยากลองทานดู

มีตัวเลือกมากมายให้เลือกและแต่ละอย่างก็น่าสนใจ เพราะมีอาหารทะเลที่หลากหลายในรูปแบบอาหารญี่ปุ่นทุกประเภท ทุกอย่างตั้งแต่แกงไปจนถึงข้าวขาว รวมถึงอาหารทะเลหมักหลากหลายรูปแบบ

ผมไม่ลังเลเลยและลงเอยด้วยการหยิบมามากกว่าที่วางแผนไว้ว่าจะกินแต่แรก

เชิงเขาคุมาโนะ

เชิงเขาคุมาโนะ

หลังจากรับประทานอาหารกลางวันอย่างเอร็ดอร่อยและขับรถมาหลายชั่วโมง ในที่สุดเราก็มาถึงเชิงเขาคุมาโนะ เรามาถึงไหล่เขาในชนบทที่มีบ้านอยู่ห่างๆ กัน สัญญาณโทรศัพท์อ่อน และมีต้นไม้ล้อมรอบพื้นที่ทั้งหมด เป็นประสบการณ์ชนบทเต็มรูปแบบ


อีกด้านหนึ่งของเนินเขายังมีกวางจ้องมองมาที่เราขณะที่เราจอดรถอีกด้วย

จากที่จอดรถ ต้องเดินเท้าไปอีก 15 นาทีก็จะถึงบ้าน


ทางเดินเริ่มเป็นทางลาดขึ้นเขาธรรมดาแต่เราเลี้ยวเข้าไปในพื้นที่ที่มีต้นไม้ล้อมรอบเต็มไปหมด ต้นไม้สูงมากจนบังแสงแดดแทบทั้งหมด และมีตะไคร่น้ำเกาะตามทางเดินคอนกรีต

อากาศสดชื่นมากๆ และรู้สึกเหมือนกำลังเดินผ่านถนนโบราณอย่างคุมาโนะโคโด (Kumano Kodo)

ถึงบ้านของช่างตีดาบ

ถึงบ้านของช่างตีดาบ

เมื่อเราผ่านพ้นเส้นทางที่มีร่มเงา วิวก็เปิดกว้างขึ้น และบนยอดเขาคือจุดหมายของเรา บ้านชนบทแบบดั้งเดิมหลังใหญ่ที่ทรุดโทรมเล็กน้อย


เราพบช่างตีดาบที่ประตูหน้า และหลังจากทักทายเบื้องต้นแล้ว เขาก็พาเราเข้าไปในห้องรับแขกเพื่อเริ่มทัวร์

ห้องรับแขกเป็นห้องวะชิสึแบบญี่ปุ่นขนาดเล็กที่มีประตูเลื่อนกระดาษและเสื่อทาทามิ ด้านหนึ่งของห้องมีดาบคาตานะอยู่ 2 เล่ม และอีกมุมหนึ่งมีรูปถ่ายเก่าๆ หนังสือ และโทรศัพท์แบบมีสาย


ในห้องไม่มีร่องรอยของเทคโนโลยีใดๆ และรู้สึกเหมือนได้ย้อนเวลากลับไปอย่างน้อย 20 ปี พวกเราได้รับชาเขียว แล้วทัวร์ก็เริ่มต้นด้วยการอธิบายพื้นฐานของดาบคาตานะ

ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่ก็พอจะรู้ขั้นตอนพื้นฐานในการทำดาบคาตานะ : ให้ความร้อนกับโลหะชิ้นหนึ่งแล้วพับเป็นพันล้านครั้งเพื่อให้ทนทานและคมมากๆๆๆ


คำอธิบายของช่างตีดาบไม่ได้เกี่ยวกับขั้นตอนการทำดาบคาตานะ แต่เป็นการบอกเล่าเพิ่มเติมเกี่ยวกับความแตกต่างของส่วนต่างๆ ของดาบ ซึ่งค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว


เห็นได้ชัดว่ามี 3 ส่วนที่แยกความแตกต่างของดาบคาตานะ : ที่จับ ที่ป้องกัน และรูปแบบใบมีด ดาบคาตานะทุกเล่มมีดีไซน์ของตัวเองในส่วนเหล่านี้ และคุณจะสามารถระบุได้เลยว่าดาบคาตานะนั้นถูกสร้างขึ้นในยุคใด เพียงแค่ดูที่ดาบนั้นเท่านั้น

ก่อนอื่น เราได้รับการสอนวิธีระบุรูปแบบใบมีด : การสะท้อนแหล่งกำเนิดแสงผ่านใบมีดและต้องดูอย่างละเอียดถี่ถ้วนมากๆ จริงๆ


รูปแบบของใบมีดจะไม่สามารถมองเห็นได้เมื่อมองตรงๆ ไปที่ดาบคาตานะ แต่เมื่อผมลองใช้ดู ก็พบว่ามีรูปแบบที่น่าสนใจและรายละเอียดที่ซับซ้อนอยู่ทั่วใบมีด


ในตอนแรก มันดูเหมือนคราบน้ำ แต่ลวดลายค่อนข้างซับซ้อนและดูเหมือนลวดลายเปลือกไม้บนต้นไม้

แล้วช่างตีดาบก็นำดาบคาตานะออกมาแสดงให้เราดูการออกแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งถูกทำขึ้นในยุคสมัยต่างๆ มีการออกแบบทุกประเภทตั้งแต่เรียบง่ายไปจนถึงซับซ้อนมาก แต่ทั้งหมดมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน : ทุกอันทั้งหมดนี้หนักมาก

เป็นเรื่องน่าสนใจที่ได้เห็นจำนวนรายละเอียดที่ใส่ลงไปในดาบคาตานะ และได้ดูว่ามีทิศทางของความสวยงามที่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างตลอดเวลาที่ผ่านมา

เข้าชมห้องทำงาน

เข้าชมห้องทำงาน

หลังฟังการอธิบายจบ เราก็ลงไปที่เวิร์กช็อปและชมข้างในกัน


ห้องทำงานหรือเวิร์กช็อปเป็นกระท่อมเล็กๆ หนึ่งชั้นลงมาจากเนินเขา ด้านล่างของห้องรับแขก เราเดินเข้าไปในห้องมืดๆ เต็มไปด้วยฝุ่น มีอุปกรณ์และวัสดุต่างๆ รอบๆ ห้อง

ข้างกำแพงมีเครื่องมือขนาดใหญ่ที่ใช้ในกระบวนการทำดาบคาตานะ ในขณะที่ข้างหน้าต่างมีหินเรียงเป็นแถวพร้อมป้ายชื่อ มันดูเหมือนมีอะไรเกิดขึ้นมากมายในเวลาที่พร้อมเพรียงกัน ว่ากันว่าคุณสามารถบอกไลฟ์สไตล์ของคนๆ หนึ่งได้ด้วยการดูที่ห้องของพวกเขา และคุณสามารถบอกได้แน่นอนว่าช่างตีดาบของเราทำงานหนักแค่ไหนในอาชีพของเขา

ช่างตีดาบนำเราเข้าสู่กระบวนการตีเหล็กเล็กๆ น้อยๆ เขาเริ่มต้นด้วยการมอบหินโลหะซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้ทำดาบคาตานะให้เราแต่ละคน

จากนั้นเขาก็นำถังที่เต็มไปด้วยทรายสีดำซึ่งเป็นวัสดุเดียวกันกับหินออกมา เพียงแต่มันอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างออกไป มันให้ความรู้สึกนุ่มและรู้สึกเหมือนทรายเสียมากกว่า อันที่จริง เขาได้ทรายโลหะสีดำนี้มาจากการนำทรายธรรมดา ซึ่งปกติคุณจะพบที่ชายหาด มาผ่านกระบวนการ


ใครจะไปรู้ว่าวัตถุดิบของดาบคาตานะนั้นหาได้ง่ายมากขนาดนี้!

แร่และทรายถูกหลอมในเตาเผา ให้ความร้อนในระดับที่รุนแรง และของเหลวที่ได้จะถูกเทลงในแม่พิมพ์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กระบวนการนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้โลหะกลายเป็นของเหลว แต่ยังเป็นการทำให้วัสดุบริสุทธิ์ เผาไหม้องค์ประกอบที่ไม่ต้องการออกไป และเหลือไว้เพียงองค์ประกอบโลหะที่แข็งแกร่งเท่านั้น


จากนั้นบล็อกโลหะสี่เหลี่ยมผืนผ้าหนาๆ นี้จะถูกนำไปงอและแผ่ประมาณ 15-20 ครั้งในช่วงเวลาหลายสัปดาห์เพื่อสร้างคุณสมบัติที่แข็งแกร่งและทนทานของใบมีดดาบคาตานะ

วันเวลาเปลี่ยนแปลงไปและเห็นได้ชัดว่าการใช้คาตานะลดลงอย่างมาก (อย่างน้อยผมก็หวังว่าจะยังมีอยู่บ้าง) ดังนั้นช่างตีดาบของเราจึงไม่ค่อยตีดาบคาตานะจริงๆ สักเท่าไหร่เขาตีเหล็กรูปแบบต่างๆ เช่น ใบมีดฉมวกมีดคุณภาพสูงและสิ่งที่ใช้งานได้จริงอื่นๆแทน

สถานที่ท่องเที่ยวที่แนะนำในบทความนี้